Skip to main content

“ก้าวต่อไปของผู้ได้รับรางวัล Goldman Environmental”

ณ เชียงของ จ.เชียงราย (๒๔-๒๖ มกราคม ๒๕๖๖)

เหตุผล

กลุ่มรักษ์เชียงของซึ่งเป็นสมาชิกสมทบของ Waterkeeper Alliance เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลก มีฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งรวบรวมผู้สนับสนุนด้านน้ำสะอาดโดยชุมชนมากกว่า ๓๐๐ ชุมชน/องค์กร ใน ๔๗ ประเทศ  ๖ ทวีป ได้ทำงานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อช่วยปกป้องทรัพยากรน้ำในท้องถิ่น และเสริมสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประชาชนในลุ่มน้ำโขง และได้ร่วมจัดการประชุมสุดยอดภูมิภาคเอเชียของ Waterkeeper Alliance ปี พ.ศ. ๒๕๖๖  ในวันที่ ๒๐-๒๔ มกราคม ๒๕๖๕  ณ โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพฯ ประเทศไทย การประชุมสุดยอดครั้งนี้เป็นการรวมตัวของสมาชิกถาวรและสมาชิกสมทบ Waterkeepers ๑๕ องค์กร จาก ๗ ประเทศ ในเอเชียเพื่อสร้างเครือข่ายเกี่ยวกับปัญหาแม่น้ำข้ามพรมแดน การตรวจสอบคุณภาพน้ำ การสนับสนุนทางกฎหมาย การทำงานชุมชน และมาตรฐานสากลและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาด ดื่มได้ ว่ายน้ำได้ และแม่น้ำที่ไหลอย่างอิสระ

กลุ่มรักษ์เชียงของ สมาชิกสมทบของพันธมิตรรักษาน้ำ (Waterkeeper) ยังได้จัดกิจกรรมคู่เคียงกันระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ เพื่อให้สมาชิกถาวรและสมาชิกสมทบ Waterkeeper Alliance และผู้ได้รับรางวัล The Goldman Environmental  รวมถึงตัวแทนเครือข่ายประชาชน เยาวชน และชาวบ้านในลุ่มน้ำโขงทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนสานเครือข่ายปกป้องแม่น้ำข้ามพรมแดน, สิทธิในแม่น้ำ และก้าวต่อไปหลังจากได้รับรางวัลโกลด์แมน รวมไปถึงการเรียนรู้และทำความเข้าใจสถานการณ์แม่น้ำโขงร่วมกัน หลังจากสองทศวรรษของการก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงสายหลักและแม่น้ำสาขา รวมถึงการเรียนรู้ของเครือข่ายพันธมิตรรักษาน้ำทั้งระดับท้องถิ่นและระดับโลกในการปกป้องดูแลแม่น้ำ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่ออำนวยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รักษาแม่น้ำในระดับนานาชาติกับระดับท้องถิ่นในลุ่มน้ำโขง และระหว่างนักวิชาการ, ผู้ได้รับรางวัลโกล์แมน, ผู้รักษาป่าและน้ำในท้องถิ่น ในประเด็นแม่น้ำข้ามพรมแดนและห้วยสาขา, การทำงานเครือข่ายปกป้องแม่น้ำ, และก้าวต่อไปหลังได้รับรางวัลโกล์ดแมน
  2. เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์แม่น้ำโขงหลังจากสองทศวรรษของการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงสายหลักและสามทศวรรษการสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาขา ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับเครือข่ายระดับโลกและระดับท้องถิ่นของผู้ดูแลแม่น้ำ

กลุ่มเป้าหมาย

  1. สมาชิกพันธมิตรผู้รักษาแม่น้ำและผู้ได้รับรางวัลโกล์ดแมน 8 คน 
  2. เครือข่ายประชาชนปกป้องแม่น้ำโขงอีสาน 10 คน
  3. ผู้ประสานงาน, เจ้าหน้าที่และล่าม 7 คน
  4. เยาวชนและพี่เลี้ยงจากโครงการเยาวชนแม่น้ำโขง 7 คน 
  5. ผู้นำชุมชนและผู้ช่วยชุมชนปงของและม่วงชุม 10 คน
  6. นักวิชาการ จากมหาลัยท้องถิ่น 3 คน

วาระกำหนดการ

23 มกราคม
  • เครือข่ายเยาวชนลุ่มน้ำโขงและเอ็นจีโอรุ่นใหม่จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 คน ออกเดินทางจากภาคอีสานถึงเย็นแวะพักเรียนรู้การต่อสู้กับโครงการเขื่อนในลุ่มน้ำยม ต.สะเอียบ อำเภอสอง จ.แพร่
24 มกราคม
  • เครือข่ายเยาวชนลุ่มน้ำโขงและเอ็นจีโอรุ่นใหม่จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 คน ร่วมบวชป่าสักทอง ลุ่มน้ำยม ก่อนเที่ยงออกเดินทางสู่เชียงของ จ.เชียงราย เข้าเช็คอินที่ ตำมิละเกสท์เฮาส์ 
  • พันธมิตรผู้รักษาแม่น้ำและผู้ได้รับรางวัลโกล์แมน 8 คน เดินทางด้วยเครื่องบิน กรุงเทพฯ-เชียงราย, รถตู้ส่งเข้าเช็คอินโรงแรมที่เชียงของ โรงแรมน้ำโขงรีเวอร์ไซด์
  • 18.00 น. แนะนำตัวทำความรู้จักกัน และอาหารเย็น ณ โฮงเฮียนแม่น้ำของ
25 มกราคม
  • 07.00 – 09.00 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม
  • 09.00 – 10.00 น. แนะนำลุ่มแม่น้ำโขง ณ เชียงราย และกลุ่มรักษ์เชียงของ สถาบันองค์ความรู้ท่องถิ่นโฮงเฮียนแม่น้ำของ 
  • 10.00 – 11.00 น. พักอาหารว่างและเดินทางเยี่ยมชม เที่ยวป่าชุ่มน้ำชุมชนม่วงชุม สนทนาอภิปรายเกี่ยวกับการแย่งยึดที่ดิน, การจัดระเบียบป่าชุมชน และปัญหาแม่น้ำอิงซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง 
  • 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารในป่าชุ่มน้ำม่วงชุม
  • 13.00-14.00 น. เดินทางกลับมาลงเรือท่าน้ำโฮงเฮียนแม่น้ำของ (เบรคอาหารว่างในเรือ) 
  • 14.00-15.30 น. ล่องเรือไปยังแก่งคอนผีหลง พื้นที่สำคัญที่ชาวบ้านร่วมกันปกป้องเกาะแก่งแม่น้ำโขง

สนทนาระบบนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่น และการรณรงค์หยุดยั้งการระเบิดเกาะแก่ง

  • 15.30 – 16.00 น. พักและเตรียมเสวนาแลกเปลี่ยน
  • 16.00 – 17.00 น. เสวนาแลกเปลี่ยน “ก้าวต่อไปของขบวนการประชาชนปกป้องลุ่มน้ำ กับสิทธิแม่น้ำ-ทะเล > คืนชีวิตสู่ธรรมชาติ” 
    1. ครูตี๋ นิวัฒน์ ร้อยแก้ว, ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ และเป็นผู้ได้รับรางวัลรางวัลโกล์แมน ปี 2565
    2. ปริกี อริสานดี Prigi Arisandi, ผู้อำนวยการ ECOTONและเป็นผู้ได้รับรางวัลรางวัลโกล์แมน ปี 2554, อินโดนีเซีย 
    3. Bunleap Leang, 3 Rivers Protection Network (3SPN), 
    4. SENGLONG YOUK, Tonle Sap Lake Waterkeeper, Phnom Penh, Cambodia
    5. ศิริศักดิ์ สะดวก เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน
    6. อ.ฑิฆัมพร รอดเมือง/อ.อริสรา เหล็กคำ อาจารย์นิติศาสตร์ มฟล.
    7. ตัวแทน WKA เนปาล Mausam Khanal, BAGMATI RIVER WATERKEEPER
    8. SHARIF JAMIL, Buriganga Riverkeeper and Waterkeepers Bangladesh
  • Daru Setyorini, Brantas River Waterkeeper, Indonesia
  • Chris Wilke, Global Advocacy Manager, Waterkeeper Alliance
  1. ดำเนินรายการ: อ.อภิสม อินทราลาวัลย์
  2.  แปลอังกฤษ-ไทย และไทย-อังกฤษ โดย ลีโอ บัลดีกา

17.00-17.30 แลกเปลี่ยนซักถาม อ่านแถลงการณ์ของเครือข่ายประชาชนปกป้องแม่น้ำโขง

(ช่วงเสวนาแลกเปลี่ยนมีผู้สื่อข่าวท้องถิ่นและนักเรียนเยาวชน ชาวบ้านเข้าร่วมบางส่วน, มีไลฟ์สด)

18.00 น.  รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน ณ โฮงเฮียนแม่น้ำของ

26 มกราคม

เช็คเอาท์ จากโรงแรมหลังอาหารเช้า

08.30-09.30 น. เดินทางไปบ้านปงของ ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน 

9.30 – 11.30 น. เยี่ยมชมพื้นที่การดำเนินงานโครงการเยาวชนแม่น้ำโขง ณ บ้านปงของ ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย, เดินคุยกับผู้นำชุมชนและเยาวชนติดตามแม่น้ำโขง ไปยัง “หลงน้ำของ ณ ปงของ” ขากลับแวะดูงานจักสาน, หัตถกรรม, โรงบ่มยาสูบเก่า

11.30-12.00 น. เดินทางมายังเชียงแสน 

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง ร้านอาหารเวียงเหนือ 

13.00 น. – 14.30 น. wrap up สรุปผลการทัศนศึกษา

14.30 น.- 16.00 เที่ยวเมืองเก่าเชียงแสน

16.00 น. สมาชิก WKA & Gold Man เดินทางไปยังสนามบินเชียงราย

-สำหรับเยาวชนและคนรุ่นใหม่จากภาคอีสานรถตู้เดินทางกลับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Share/แชร์

Leave a Reply