23-26 ต.ค. 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ ณ อำเภอเชียงของ, อำเภอเวียงแก่น, อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
“สามทศวรรษแห่งการพัฒนาสมัยใหม่: บทเรียนในการปกป้องแม่น้ำโขง“
“Three decades of the Modern Development: Lessons Learn for protecting the Mekong River”
หลักการและเหตุผล
เขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งแรกในแม่น้ำโขงตอนบนคือเขื่อนมานวันในประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2539 และ การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้พัฒนาและประสานงานกันจนกระทั่ง เกิดข้อตกลงว่าด้วยการเดินเรือเชิงพาณิชย์ในแม่น้ำหลานช้าง-แม่น้ำโขงระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพเมียนมา และราชอาณาจักรไทย ในปี 2543, ทั้งสองประเด็นมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งและเปลี่ยนแปลง ต่อระบบนิเวศทางวัฒนธรรมของผู้คนในสังคมและชุมชนในหลายมิติ ต่อทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงและชุมชนต้นน้ำมาสามทศวรรษแล้ว
ในช่วงเวลาคู่ขนานของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขงเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจการค้าภายใต้การค้าเสรีนิยมใหม่นี้ ขบวนการประชาชนท้องถิ่นระดับรากหญ้าที่ต่อสู้เพื่อปกป้องแม่น้ำโขงและป่าต้นน้ำ เรียกกันว่า “กลุ่มรักษ์เชียงของ” ได้เกิดขึ้นมาด้วย กลุ่มนี้พัฒนาจากวงการอภิปรายและวิเคราะห์ของชาวเชียงของประมาณปี 2538 เริ่มโครงการ “ซื้อคืนชีวิตต้นไม้” ในพื้นที่ต้นน้ำดอยหลวง บ้านทุ่งนาน้อย ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ปลาบึกกับชาวหมู่บ้านหาดไคร้และประชาชนในเมืองเชียงของ
โครงการระเบิดของเกาะแก่งแม่น้ำโขงเป็นเหตุผลสําคัญที่ก่อตั้ง “เครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ําโขง-ล้านนา” โดยกลุ่มรักษ์เชียงของ โครงการแม่น้ำและชุมชน และชมรมอนุรักษ์ลุ่มน้ำอิงตอนปลาย ในปี 2545 เพื่อร่วมกันปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมของลุ่มน้ำโขง เครือข่ายฯ ได้ร่วมมือกับชุมชนหลายแห่งในลุ่มแม่น้ำอิง ลุ่มแม่น้ำกกตอนปลาย และชายฝั่งแม่น้ำโขงตลอดเส้นทาง 96 กม. มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อการเลื่อนโครงการระเบิดเกาะแก่งระยะแรกในฤดูร้อนปี 2547 ออกไป และการยกเลิกโครงการระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำโขงตามมติคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลไทย ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563
อย่างไรก็ตาม โครงการเขื่อนพลังงานไฟฟ้า เช่น เขื่อนหลวงพระบาง และเขื่อนปากแบงยังคงมีความคืบหน้า ในขณะเดียวกันชุมชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงในประเทศไทยและลาว หรือชุมชนที่ปลายเขื่อนพลังงานไฟฟ้าของจีนในแม่น้ำโขงตอนบนได้รับผลกระทบสะสมจากการก่อสร้างเขื่อนพลังงานไฟฟ้ามาเป็นเวลาสามทศวรรษ ที่แม่น้ำและผู้ได้รับผลกระทบไม่ได้รับการเยียวยา -แม่น้ำโขงอยู่ในสภาวะตายครึ่งชีวิต
เป็นเวลากว่าสามทศวรรษ เส้นทางการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขง ได้แก่ โครงการเขื่อนพลังงานไฟฟ้าในแม่น้ำโขง โครงการระเบิดเกาะแก่ง และโครงการเขื่อนป้องกันฝั่งน้ำโขงพังทลาย (อันเป็นผลมาจากกระแสน้ำที่ผิดปกติและขาดตะกอนใหม่จากด้านบนเพื่อเติมเต็มระบบนิเวศปลายน้ำ) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ได้สร้างผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงมากมายต่อชุมชนท้องถิ่นตามริมฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาของจังหวัดเชียงราย ในขณะเดียวกัน นักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งจากสถาบันการศึกษาและองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคมต่างๆ พวกเขาได้ร่วมกันสนับสนุนการวิจัยถึงผลกระทบและข้อเสนอแนะต่ออนาคตการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในลุ่มน้ำโขงและแม่น้ำสาขาไว้มากมายเช่นเดียว ดังนั้น เพื่อให้ข้อมูลความรู้จากนักวิชาการ จากภาคประชาสังคม และความรู้จากชุมชนชาวบ้าน ได้มีพื้นที่สาธารณะร่วมกันในการนำเสนอและสานเสวนาเกี่ยวกับบทเรียนและอนาคตของการพัฒนาชุมชนในลุ่มน้ำโขง ทั้งยังเป็นการเปิดพื้นที่มองหาวิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืนร่วมกันและนําเสนอต่อองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความตระหนักรู้และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ชุมชน และเยาวชนรุ่นใหม่ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำโขง และเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะที่นําไปสู่การปรับปรุงนโยบายเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนในลุ่มน้ำโขงร่วมกันต่อไป
กลุ่มรักษ์เชียงของ สถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นโฮงเฮียนแม่น้ำของ และเครือข่ายนักวิชาการ Mekong Academic Consortium (MAC) ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย จึงจัดให้มี เวทีสาธารณะ“สามทศวรรษแห่งการพัฒนาสมัยใหม่: บทเรียนในการปกป้องแม่น้ำโขง“และ มินิเทศกาลภาพยนตร์สารคดีแม่น้ำโขง ระหว่างวันที่ 24-27 ตุลาคม 2567 เพื่อสร้างการสานเสวนาสาธารณะของผู้นําชุมชนท้องถิ่น นักวิชาการ นักนโยบาย ทั้งเจ้าหน้าที่องค์กรรัฐและเอกชน สื่อมวลชน ภาคประชาสังคม และได้ลงเรียนรู้พื้นที่ชุมชนในลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย 4 ชุมชน ในจังหวัดเชียงรายได้แก่ 1)ชุมชนบ้านห้วยลึก ตำบลม่วงยาย อําเภอเวียงแก่น 2)ชุมชนบ้านปากอิงใต้อําเภอศรีดอนชัยอําเภอเชียงของ 3)ชุมชนบ้านสบกก ต.บ้านแซว อ.เชียงแสนและ 4)ชุมชนบ้านป่าข่า หมู่ 8 ต.ป่าตาล อ.ขุนตาล
นอกจากเวทีสาธารณะแล้วเพื่อเพิ่มการรับรู้และการมีส่วนร่วมของเยาวชนต่อการพัฒนาในลุ่มน้ำโขง ทั้งในประเด็นประวัติศาสตร์ นิเวศวิทยา วัฒนธรรมชุมชน สิทธิมนุษยชน และสิทธิของแม่น้ำโขง เราจึงจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในการผลิตภาพยนตร์สารคดีสั้นสําหรับเยาวชน หรือนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดเชียงราย และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในเครือข่าย MAC และการฉายภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นของเยาวชน และภาพยนตร์สารคดีที่คัดสรรโดยผู้กํากับหรือโปรดิวเซอร์จากต่างประเทศและในประเทศจะถูกจัดแสดงพร้อมกับการแสดงทางวัฒนธรรม เช่น ดนตรี ศิลปะ และการอ่านบทกวีสําหรับแม่น้ำโขง
วัตถุประสงค์
1) เพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะให้ผู้นําชุมชน นักวิชาการ ภาคประชาสังคม นักนโยบาย สื่อมวลชน และชาวบ้านได้นําผลการศึกษาจากการถอดบทเรียนการปกป้องแม่น้ำโขง รวมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนในลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะนําไปสู่การส่งเสริมนโยบายการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรธรรมชาติ และการฟื้นฟูอาชีพและวิถีทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนในลุ่มน้ำโขงในอนาคต
2) เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์สารคดีสั้นสําหรับเยาวชนนักเรียนนักศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในประเด็นประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรม สิทธิของผู้คนและสิทธิของแม่น้ำ
3) เทศกาลขนาดเล็กภาพยนตร์สารคดีแม่น้ำโขง เป็นพื้นที่ในการนําเสนอสารคดีสั้น ๆ ที่นำเสนอโดยเยาวชน นักวิชาการ และสื่อมวลชน ภาพยนตร์สารคดีที่ได้รับการคัดเลือกจะจัดทําโดยผู้กํากับหรือโปรดิวเซอร์ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจัดแสดงร่วมกับการแสดงทางวัฒนธรรม เช่น ดนตรี ศิลปะ และการอ่านบทกวีสําหรับแม่น้ำโขง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้นําชุมชนและชาวบ้าน นักวิชาการ นักนโยบาย ประชาสังคม และเจ้าหน้าที่รัฐได้ร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนและนําเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในแม่น้ำโขง ซึ่งจะมีตั้งแต่ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะสร้างฉันทามติทางสังคมร่วมกันในการผลักดันนโยบายการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูอาชีพดั้งเดิมและวัฒนธรรมทางสังคมของชุมชนในลุ่มน้ำโขงในอนาคต
(1.1)รายงานสรุปบทเรียนในการปกป้องนิเวศทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเสนอแนวทางการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชนในลุ่มน้ำโขงของชุมชนเป้าหมาย
(1.2)รายงานสรุปบทเรียนและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปกป้องนิเวศทรัพยากรชุมชนในลุ่มแม่น้ำโขงของจังหวัดเชียงราย ซึ่งสังเคราะห์ร่วมกับบทเรียนจากชุมชน หรือนักพัฒนาหรือเครือข่ายนักพัฒนาอื่นๆ ได้แก่ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะจาก ข้อ (1.3)
(1.3) บทสรุปเชิงนโยบายว่าด้วยเรื่องการพัฒนาและการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงและน้ำสาขาอย่างมีส่วนร่วม เป็นธรรม และยั่งยืน
2) เยาวชนนักเรียนนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับมหาวิทยาลัยได้เรียนรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์สารคดีสั้นในประเด็นประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรมชุมชนและสิทธิของประชาชนและสิทธิของนิเวศแม่น้ำ
3)เทศกาลภาพยนตร์สารคดีสื่อลุ่มแม่น้ำโขงจะจัดขึ้นเพื่อนําเสนอภาพยนตร์สารคดีสั้นของเยาวชน ภาพยนตร์สารคดีที่คัดสรรโดยผู้กํากับหรือโปรดิวเซอร์จากต่างประเทศและในประเทศจะถูกจัดแสดงพร้อมกับการแสดงทางวัฒนธรรม เช่น ดนตรี ศิลปะ และการอ่านบทกวีสําหรับแม่น้ำโขง
กิจกรรมเสวนาทางวิชาการ สามทศวรรษของการพัฒนายุคใหม่ของแม่น้ำโขง
บนบทเรียนของประชาชน และชุมชนในการปกป้องสิทธิของแม่น้ำ
“Three decades of Mekong Modernity Development on the lesson of the people and
community to protect the river’s rights.”
วันที่ 23 – 26 ตุลาคม 2567 ณ จังหวัดเชียงราย
(ร่าง) กำหนดการ
วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2567
12.00 – 18.00 น. นักวิชาการ ผู้แทนภาครัฐทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง สื่อมวลชน
เดินทางมาพักที่โรงแรมวนาเวศน์ ม.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
18.00 – 19.00 น. รับประทานอาหารเย็น ณ เรือนริมน้ำ
19.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2567
8.15 – 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมคำมอกหลวง ชั้น 5 ตึก M-square
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
09.00 – 09.30 น. กล่าวเปิดงาน
09.30 – 10.30 น. เสวนาสาธารณะเปิดประเด็น “สามทศวรรษแห่งการพัฒนาสมัยใหม่ในลุ่มน้ำโขง: บทเรียนการ
บริหารจัดการน้ำ พลังงาน วิถีชีวิตชุมชน และสิ่งแวดล้อม” ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- พุทธิกุล ทองเนื้อสุข สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (ONWR)
- ครูตี๋-นิวัฒน์ ร้อยแก้ว โฮงเฮียนแม่น้ำของ กลุ่มรักษ์เชียงของ
- รองศาสตราจารย์ดร. ชัยยุทธ สุขศรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รองศาสตราจารย์ ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ สื่อมวลชนอิสระ อดีตรองผู้อำนวยการด้านข่าวและรายการ
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส อดีตบรรณาธิการนิตยสารสารคดี - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ดร. วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
- Ms Charm Tong, Shan Human Rights Foundation
- รวินทร์นิภา การินทร์ กองความมั่นคงกิจการชายแดนและประเทศรอบบ้าน
- ศาสตราจารย์ สุริชัย หวันแก้ว เครือข่ายนักวิชาการเพื่อแม่น้ำโขง
- …
- 10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 น. เสวนาสาธารณะเปิดประเด็น “สามทศวรรษแห่งการพัฒนาสมัยใหม่ในแม่น้ำโขง: บทเรียนการ
จัดการลุ่มน้ำโขง พลังงาน วิถีชีวิตและชุมชน” (ต่อ)
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
13.00 – 15.00 น. เดินทางไปยังอำเภอเชียงของ
15.00 – 18.00 น. เช็คอินเข้าที่พัก “โรงแรมน้ำโขงริเวอร์ไซด์” และพักผ่อนตามอัธยาศัย
18.00 – 19.00 น. งานเลี้ยงอวยพรมิตรสหายและแขกแก้วที่มาเยือนแม่น้ำโขง ณ โฮงเฮียนแม่น้ำของ
อำเภอเชียงของ
19.00 – 19.30 น. วงเสวนา “อนาคตเยาวชน อนาคตแม่น้ำโขงและเชียงของ”
20.00 – 21.30 น. เปิดงานมินิเทศกาลภาพยนตร์สารคดีแม่น้ำโขง ครั้งที่ 1 - “แม่โขงนฤมิต (MULTIVERSE OF MEKONG)” คว้ารางวัล Grand Jury Award จากเทศกาล
ภาพยนตร์ CCCL 2023 โดย อิฐ ปฏิภาณ บุณทริก (CF) - “ให้ทุกเสียงฝากรอยร้าวแด่เขื่อน” โดย Nimiipuu Protecting The Environment (c) 2017, กลุ่มชนพื้นเมือง Nez Perce หรือ Nimiipuu ทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ พวกเขาก่อตั้งขบวนการทางสังคมเพื่อรื้อเขื่อนสี่แห่งบนแม่น้ำสาขาที่ใหญ่ที่สุดของโคลัมเบียทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
- “พันธสัญญาแห่งชาวปลาแซลมอน” โดย Swiftwater Films (c) 2022, ตัวอย่างสารคดีความยาว 60 นาที เจ้าหน้าที่รัฐบาลชนเผ่าและนักวิทยาศาสตร์ของชนเผ่าพื้นเมืองเนซเพอร์เซหรือนิมิปูเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองเพื่อรื้อเขื่อนสี่แห่งบนแควที่ใหญ่ที่สุดของแม่น้ำโคลัมเบียทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
- “โลกที่กำลังสูญหายไป” โดย Kalyanee Mam
- “ก้าวกิโลเมตรแรกของแม่น้ำโขง” โดย Kaley Clements
- “ภาระกิจช่วยเหลือเกษตรกรเวียดนามของผู้หญิงคนหนึ่ง” โดย Sen Nguyen
- สารคดีสั้นแม่น้ำโขงจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567
09.00 – 12.00 น. นักวิชาการ นักศึกษา สื่อมวลชน ตัวแทนองค์กรภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่าง
ประเทศ ลงไปพื้นที่แบบกลุ่มคณะ ไปพูดคุยและศึกษาพื้นที่ชุมชนริมแม่น้ำโขงและต้นน้ำของ
แม่น้ำโขง
1) บ้านห้วยลึก ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
การอภิปรายกลุ่มย่อยในประเด็นเขื่อนปากแบงและกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วย
ผลกระทบข้ามพรมแดนต่อชุมชนและตาบลม่วงยาย, หล่ายงาว และบทเรียนในการ
ปกป้องแม่น้ำโขง
2) บ้านปากอิงใต้ ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
สนทนากลุ่มย่อย ในประเด็นบทเรียนจากการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าในแม่น้ำโขง การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศปากแม่น้ำจากดิน
ดอนสามเหลี่ยมที่อุดมสมบูรณ์
3) บ้านสบกก ตำลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ชุมชนบ้านสบกก ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนตอนบน, โครงการเดินเรือพานิชย์
ขนาดใหญ่, การสร้างท่าเรือฯ, การสร้างผนังกั้นตลิ่งพังทลาย และนโยบายเขตพัฒนา
เศรษฐกิจพิเศษเชียงแสน และผลจากน้ำท่วมลุ่มน้ำกก ครั้งล่าสุด
4) บ้านป่าข่า ตำบลป่าตาล อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย
ชุมชนที่มีพื้นที่ป่าชุ่มน้ำขนาดใหญ่สุดในลุ่มน้ำอิง
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยงที่หมู่บ้านต่างๆ
13.00 – 16.00 น. นักวิชาการ ตัวแทนองค์กรเอกชน องค์กรภาครัฐ และองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ สะท้อนผล
การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนด้านการเรียนรู้ต่างๆ ร่วมกันในแต่ละพื้นที่ ณ พื้นที่ชุมชนเหล่านั้น
16.30 – 17.30 น. เดินทางกลับที่พักในตัวเมืองอำเภอเชียงของ
17.30 – 18.30 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
18.30 – 19.30 น. รับประทานอาหารเย็น
19.30 – 21.30 น. มินิเทศกาลหนังสารคดีสั้น ดนตรี ศิลปะ และบทกวีเพื่อแม่น้ำโขง ณ โฮงเฮียนแม่น้ำของ
อำเภอเชียงของ
วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2567
09.00 – 10.30 น. เวทีสาธารณะ “บทเรียนและข้อเสนอนโยบายเพื่อการพัฒนาชุมชนลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน” ณ ที่ว่าการอำเภอเชียงของ
1) บ้านห้วยลึก อำเภอเวียงแก่น
2) บ้านปากอิงใต้ อำเภอเชียงของ และเครือข่ายประชาสังคมเชียงของ
3) บ้านสบกก อำเภอเชียงแสน
4) บ้านป่าข่า ตำบลป่าตาล อำเภอขุนตาล
10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 น. การถอดบทเรียนการพัฒนาลุ่มน้ำอิง- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. อภิสม อินทรลาวัณย์ สำนักวิชาการจัดการ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
มหาวิทยาลัยกษตรศาสตร์ - ศาสตราจารย์ ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ สาขาวิชาประมง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม - ตัวแทนสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น. เวทีเยาวชนฉายหนัง
14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 – 16.00 น. เวทีสาธารณะ “บทสรุป ข้อเสนอนโยบายเพื่อการพัฒนาชุมชนลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน”- รองศาสตราจารย์ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ทั้งพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน (รอยืนยัน)
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย (รอยืนยัน)
- ศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ร่มเย็น โกไศยกานนท์ ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยการอุดมศึกษาและ
การพัฒนา (SEAMEO RIHED)
16.00 – 18.00 น. เดินทางกลับภูมิลำเนา
*กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ผู้จัดงานหลักโดย
สถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นโฮงเฮียนแม่น้ำของ กลุ่มรักษ์เชียงของ เครือข่ายนักวิชาการแม่น้ำโขง (MAC) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ อำเภอเชียงของ
สนับสนุนโดย
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพฯ