ภูมิหลัง
สถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นโฮงเฮียนแม่น้ำของ ก่อตั้งในวันที่ ๑๘-๑๙ เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งยกระดับการทำงานของ เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา โดยมีกลุ่มรักษ์เชียงของเป็นแกนหลักในการก่อตั้งเพื่อเป็นแพลตฟอร์มในการศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนาในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง
เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในลุ่มน้ำโขง ในรูปแบบ “สนามการเรียนรู้” โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนากระบวนการทำงานที่นำไปสู่การสร้างเสริมพื้นที่รูปธรรมโดยการนำองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่นและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของคนภายในและภายนอก ร่วมวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และกำหนดแนวทางเลือกนโยบายในการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากร ธรรมชาติและวัฒนธรรมในท้องถิ่น และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมในลุ่มน้ำโขง ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนา ทั้งระดับท้องถิ่น ประเทศ และระดับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ปรัชญา -
“เคารพในธรรมชาติ ศรัทธาในความเท่าเทียมของมนุษยชาติ”
“โฮงเฮียนแม่น้ำของเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ทั้งการเรียนรู้ท้องถิ่นและเรียนรู้สากลโลกในการศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากการพัฒนาในลุ่มน้ำโขง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นในการปกปักรักษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ตลอดจนดำเนินการอบรมถ่ายทอดแบ่งปันองค์ความรู้ท้องถิ่นและองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ในการติดตามดูแลทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง แก่เด็กเยาวชน ชาวบ้าน ชุมชน นักเรียน นักศึกษา สถาบันการศึกษา องค์กรท้องถิ่น ประชาสังคม และสาธารณชนทั่วไป”
สถานที่ติดต่อ : สถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นโฮงเฮียนแม่น้ำของ ๒๖๐ หมู่ ๑ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ๕๗๑๔๐ โทรศัพท์ ๐๖๖๑๖๓๖๔๕๑
อ่านสารจากผู้อำนวยการทั้งหมดพบกับทีมงาน
คนเหล่านี้คือคนที่ทำให้โปรแกรมของเราเป็นไปได้
ในปี 2538 ครูตีและเพื่อนร่วมงานที่เชียงของได้ก่อตั้งกลุ่มรักษ์เชียงของ (ฮักเชียงของ) เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในแม่น้ำสม ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำโขง ชาวบ้านม้งถูกกล่าวหาว่าตัดไม้ทำลายป่าและทำให้ไม่มีน้ำตามฤดูกาล โครงการดังกล่าวได้ระดมทุนจากประชาชนในท้องถิ่น ธุรกิจ และองค์กรต่างๆ เพื่อซื้อต้นไม้ให้ชาวม้ง น้ำกลับคืนสู่ลำธารและขณะนี้กลุ่มได้สอนชุมชนท้องถิ่นให้ดูแลรักษาป่าไม้และแม่น้ำ
ในปี พ.ศ. 2545 ครูตี๋ได้ก่อตั้งเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนาเพื่อส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นตามแนวแม่น้ำโขง อิง และกก เพื่อปกป้องแม่น้ำและป่าไม้ด้วยความรู้จากชุมชน โครงการต่างๆ รวมถึงความสำเร็จในการป้องกันโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขงสายหลัก เช่น โครงการเดินเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง และการต่อสู้โครงการเขื่อนหลักอย่างไซยะบุรีและปากแบงอย่างต่อเนื่อง
ในปี พ.ศ. 2558 ครูตี๋ได้ก่อตั้งสถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นโฮงเฮียนแม่น้ำของโดยมีสำนักงานและศูนย์ประชุมริมแม่น้ำโขงที่รวมบุคลากรและพันธกิจของกลุ่มอื่นๆ กว่าสองทศวรรษของการทำงานที่นำไปสู่การยกเลิกโครงการ ‘ระเบิดแก่ง’ นิวัฒน์ รอยแก้ว ได้รับรางวัล Goldman Environmental Prize ประจำปี พ.ศ. 2565 รางวัล Goldman Prize ยกย่อง “ผู้คนที่มีภูมิหลังธรรมดาๆ ที่ทำสิ่งพิเศษเพื่อช่วยโลกของเรา” รางวัลคือ “รางวัลระดับแนวหน้าของโลกเพื่อเป็นเกียรติแก่นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมระดับรากหญ้า โดยยกย่องผู้นำที่โดดเด่นจากแต่ละภูมิภาคของโลก ผู้ชนะรางวัลโกลด์แมนพิสูจน์ให้เห็นว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงหรือกำหนดอนาคตของโลกได้”
ผมลาออกจาก RRAFA เพื่อทำงานกับกลุ่มรักษ์เชียงของ (CKCG) ในปี พ.ศ. 2545 ในฐานะอาสาสมัครเพื่อสนับสนุนการวิจัยและผลิตสิ่งพิมพ์ในนามของโครงการสื่อชุมชนลุ่มน้ำโขง และเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมแม่น้ำโขง-ล้านนา ในช่วงเวลานี้ (2545-2558) ข้าพเจ้าได้ช่วยจัดกิจกรรมหลายอย่าง เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่น และวิถีชีวิต ตลอดจนการสร้างศักยภาพการวิจัยและความรู้ในท้องถิ่นเกี่ยวกับแม่น้ำโขง ไปพร้อมกับการใช้สื่อในการเสริมพลังชุมชน
ในปี พ.ศ. 2558 สถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นโฮงเฮียนแม่น้ำของ ได้ก่อตั้งขึ้น และในปีนั้นมีโอกาสดำเนินงานเครือข่ายประชาสังคมเชียงของ และขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์เชียงของ “หนึ่งเมือง สองแบบ” อีกทั้งได้เริ่มงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “คนเจียงของ” ร่วมกับโรงเรียนเชียงของวิทยาคม
ตั้งแต่ปี 2558-2565 ผมทำงานเป็นผู้จัดการโครงการ หัวหน้านักวิจัย และกระบวนกรในกิจกรรมค่ายเรียนรู้ธรรมชาติแม่น้ำโขง ซึ่งขณะนี้อยู่ในโครงการเยาวชนแม่น้ำโขง (พ.ศ. 2564) ผมสนับสนุนการหยุดยั้งการระเบิดแก่ง และได้จัดตั้งโปรแกรมตรวจสอบคุณภาพน้ำ ตลอดจนช่วยกลุ่มรักษ์เชียงของสมัครเป็นพันธมิตรสมทบ Waterkeeper Alliance
ปัจจุบัน ฉันทำงานเป็นผู้จัดการโครงการและผู้ช่วยผู้จัดการ โครงการเยาวชนแม่น้ำโขง โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรประชาชนลุ่มแม่น้ำโขง-ประเทศไทย และโครงการผู้พิทักษ์แม่น้ำโขง ซึ่งขับเคลื่อนเว็บไซต์โฮงเฮียนแม่น้ำของและแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อบันทึกและตรวจสอบสุขภาวะของแม่น้ำโขง
อาชีพ มัคคุเทศก์ดูนกและธรรมชาติศึกษา
ประสบการณ์การทำงาน
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมเผยแพร่ โครงการควบคุมไฟป่าภูพิงค์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2528-32
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน งานสำรวจพื้นที่ปลูกพืชเสพติด สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคเหนือ ปี 2533-37
คณะทำงานสนาม โครงการศึกษาและพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สนับสนุนโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ปี 2537-38
คณะทำงานสนาม โครงการพัฒนาระบบสื่อความหมายธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สนับสนุน โดย CANADA FUND ปี 2538-39
ประธานโครงการเพื่อนนก สนับสนุน โดย สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเขต 1 เชียงใหม่ ปี 2540-41
ผู้ช่วยนักวิจัย งานกระบวนพัฒนาเยาวชนและชุมชนในถิ่นทุรกันดารในพระดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปี 2552-55
ปัจจุบัน เป็นมัคคุเทศก์อิสระ ด้านดูนก การสื่อความหมายธรรมชาติและวัฒนธรรม เกษตรอินทรีย์ และเป็นอาสาสมัครของสถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นโฮงเฮียนแม่น้ำของ
ผลงานทางด้านวิชาการ
โครงการศึกษาวิจัยการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงองค์ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของนกของคนปกาเกอญอ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปี 2541-42
ปัจจุบันทำงานอาสาสมัครและนักวิจัยด้านนกกับสถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นโฮงเฮียนแม่น้ำของ
- เรียนจบมัธยมตอนต้นโรงเรียนเชียงของวิทยาคม อ.เชียงของ จ.เชียงราย
- เรียนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย สาขาช่างยนต์ อ.เมือง จ.เชียงราย
- เรียนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย สาขาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม อ.เมือง จ.เชียงราย
ประสบการณ์การทำงาน
- ปี 2534 – 2536 ได้เรียนรู้ขบวนการทำชุมชนำื้นที่แม่น้ำกก กรณีโครงการสร้างเขื่อนกันแม่น้ำกก ที่บ้านโป่งนาคำ อ.เมือง จ.เชียงราย
- ปี 2541 – 2545 ทำงานภายใต้โครงการแม่น้ำและชุมชนพื้นที่แม่น้ำอิปี 2545 – ปัจจุบัน ทำงานอยู่กับกลุ่มรักษ์เชียงของ ณ โฮงเฮียนแม่น้ำของ
งานอดิเรก
- วัดระดับแม่น้ำโขง สังเกตุการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำขึ้นลงในแต่ละช่วงฤดู
- เรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนห้องสอนศึกษา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ. 2556
- เรียนจบปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ สาขานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในปี พ.ศ.2562
ประสบการณ์การทำงาน
- นักศึกษาฝึกงาน โฮงเฮียนแม่น้ำของ, ปี พ.ศ. 2561
- ศึกษาเรียนรู้ข้อมูล พืช สัตว์ ต้นไม้ ดอกไม้ สารเคมีในพืช ในโครงการหลวงห้วยโป่ง ต.แม่เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย, 2560.
- ศึกษาเรียนรู้การทำงานในส่วนของราชการ และได้รวบรวมองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อประกอบการพัฒนาและแนวทางการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการวิเคราะห์งานวัฒนธรรม, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย, 2559
ปัจจุบัน ทำงานผู้ช่วยวิจัยและผู้ช่วยจัดการห้องสมุดโฮงเฮียนแม่น้ำของ